เงื่อนไข Easy E-Receipt 2.0 ช้อปลดหย่อนภาษี 2568 สูงสุด 50,000 บาท

รายละเอียดเงื่อนไขการใช้สิทธิ Easy E-Receipt 2.0

16 มกราคม 68 – 28 กุมภาพันธ์ 68

 

มาตรการ “Easy E-Receipt 2.0” ให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการในราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 ได้สูงสุด 50,000 บาท

 

รวมดีลช้อปคุ้ม ลดหย่อนภาษี 2568 ได้ คลิก https://privilege.trueid.net/thematic/QybZ14kN6JDy

 

ส่วนที่ 1 ลดหย่อนสูงสุด 30,000 บาท

ซื้อสินค้าหรือบริการจากร้านค้าที่ออก

- ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice)

- ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt)

ส่วนที่ 2 ลดหย่อนเพิ่มเติม 20,000 บาท

(ต้องใช้หลักฐาน e-Tax Invoice หรือ e-Receipt เช่นกัน)
- ซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)1
- ซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจชุมชน2
- ซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคม3

ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง ทั้งนี้เมื่อรวมมูลค่าซื้อสินค้าและบริการตามข้อ 1 และข้อ 2 ลดหย่อนรวมกันไม่เกิน 50,000 บาท

 

ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการต้องแจ้งข้อมูลให้ผู้ประกอบการ

ใช้ออก e-Tax Invoice หรือ e-Receipt ดังนี้

1. ชื่อ-นามสกุล 2. ที่อยู่ 3. เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เลขประจำตัวบัตรประชาชน)

 

ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการใดที่ไม่สามารถหักลดหย่อนได้
1) ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์
2) ค่าซื้อยาสูบ
3) ค่าซื้อน้ำมัน ค่าซื้อก๊าซ และค่าบริการอัดประจุไฟฟ้าสำหรับเติมยานพาหนะ
4) ค่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์และค่าซื้อเรือ
5) ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต
6) ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการและผู้รับบริการสามารถใช้บริการดังกล่าวนอกเหนือจากระยะเวลาระหว่างวันที่ 16 มกราคม 2568ถึงวันที่ 28กุมภาพันธ์ 2568เช่น ค่าสมาชิกต่าง ๆ
7) ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
8) ค่าบริการจัดนำเที่ยวที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว
9) ค่าที่พักในโรงแรม
10) ค่าที่พักโฮมสเตย์ไทย
11) ค่าที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม

ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากผู้ใดจึงได้สิทธิหักลดหย่อนตามมาตรการนี้
ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือจากผู้มิได้เป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท
หักลดหย่อนได้เพิ่มอีกตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 20,000 บาท ถ้า
(2.1) ซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว (2.2) ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากวิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร
(2.3)  ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากวิสาหกิจเพื่อสังคมที่จดทะเบียนต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจ เพื่อสังคม
ทั้งนี้ ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการตามข้อ (1) รวมถึงค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการตามข้อ (2) ด้วย เช่น
ซื้อสินค้า OTOP 50,000 บาท สามารถหักลดหย่อนได้ 50,000 บาท

e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร และแตกต่างจากใบกำกับภาษีและใบรับในรูปแบบกระดาษอย่างไร
e-Tax Invoice และ e-Receipt คือ ใบกำกับภาษี (e-Tax Invoice) และใบรับ (e-Receipt) ที ่ได้ มี  การจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และได้ลงลายมือชื่อโดยใช้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Certificate) ทั้งนี้ ผู้ออก e-Tax Invoice หรือ e-Receipt ต้องได้รับอนุมัติจากกรมสรรพากร ให้ออกได้

 

null

 

สังเกตสัญลักษณ์ก่อนช้อป

 

 

 

ที่มาข้อมูล :

กรมสรรพากร